นาทีนี้ ไม่มีสัตว์ทางการเกษตรตัวไหน จะมาแรงเท่าเจ้า ปูนา อีกแล้ว เพราะจากสถิติที่ผ่านมา มีการรายงานว่าปูนา คือสัตว์ที่ทำเงินให้ชาวเกษตรกรมากที่สุด บางคนอาจจะสงสัย ว่าการเลี้ยงปูนาต้องเลี้ยงอย่างไร แล้วมันเลี้ยงได้จริงหรือ คำตอบคือได้ค่ะ และถ้าเลี้ยงเขาดี ๆ ปูนาเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างเงินมูลค่าหลายล้านบาทให้เกษตรกรได้เลย
วันนี่เลยนำ วิธีเลี้ยง ปูนา สัตว์เศรษฐกิจทางการเกษตรตัวใหม่ มาแนะนำผู้ที่สนใจ ส่วนวิธีการเลี้ยง จะยากง่ายแค่ไหน และจะมีทริคการดูแลดี ๆ แบบไหนบ้าง ตามไปดูกันเลย
วิธีการเลี้ยงปูนา ในบ่อปูน
สำหรับวิธีการเลี้ยง ที่ชาวเกษตรกรแนะนำ เขาแนะนำว่าให้เลี้ยงในบ่อที่เป็นดินปูนค่ะ แบบนี้จะทำให้ปูรู้สึกเหมือนอยู่ในธรรมชาติ อีกทั้ง ปูนยังเก็บความเย็นและความชื่นได้ดี เหมาะกับการเลี้ยงปูมากที่สุดด้วย ปูนาเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับเราคนไทยมาช้านาน เพราะว่าปูนาหาง่ายในสมัยก่อน และในปัจจุบัน เมนูของปูนาก็มีมากมายที่หลาย ๆ ท่านนำมาทำเป็นอาหาร ทั้งต้ม , ปี้ง , ย่าง หรือเมนูที่ผู้เขียนโปรดปรานก็จะเป็นยำปูนาใส่มะม่วงรสแซ่บ ๆ เผ็ด ๆ ก็มีให้เห็นเพียบ

สำหรับการเลี้ยงปูนาในบ่อดิน ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ แต่ก่อนอื่นทุกท่าน ๆ ต้องเคลียร์พื้นที่เพื่อลงบ่อปูนก่อน โยค่าใช้จ่ายจะมากกว่า การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เล็กน้อย และก็ต้องมีพื้นที่ เพื่อที่จะขุดบ่อ เพราะพื้นที่ในการเลี้ยงปูนาแบบบ่อดินนั้น ต้องมีอวนมุ้งตาถี่ล้อมรอบบ่อ เพื่อป้องกันปูนาไต่หนี แต่ข้อสำคัญของบ่อเลี้ยงปูนาแบบในบ่อดิน คือ ประมาณ 3ใน 4 ของพื้นที่ของบ่อดินควรเป็นดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ปูนาได้ขุดรูอยู่ด้วยค่ะ ส่วนที่เป็นพื้นที่ดินนี้ จะลาดเข้าหาอีกส่วนหนึ่งที่เป็นน้ำ กะระยะให้พอดี เพื่อให้ได้บ่อที่สมบูรณ์ที่สุด เท่านี้ก็สามารถเลี้ยงเจ้าปูนา เพื่อเพาะพันธุ์ขายได้แล้วจ้า
เคล็ดลับในการเลี้ยงปูนา ตามแบบฉบับเกษตรกร

- หากบ่อที่ท่านเลือกเลี้ยง เป็นบ่อแบบปูนกลมหรือสี่เหลี่ยม ที่มีความกว้าง 2 เมตรยาว 3 เมตร สูง 1 เมตร ท่านจะต้องหาท่อพีวีซี จำนวน 2 ท่อ มาใส่ไว้ในบ่อเพื่อทำเป็น ที่ระบายน้ำออกจากบ่อด้วย
- หากท่านทำบ่อขึ้นมาใหม่ ท่านจะต้องใส่น้ำลงไป เพื่อลดความเค็มจากปูนซีเมนต์ในบ่อแช่น้ำไว้ประมาณ 1 – 2 วันแล้วถ่ายน้ำออก ใส่ต้นกล้วยลงไปแช่น้ำในบ่อทิ้งไว้ประมาณ 7 – 10 วัน ใส่เกลือสินเทาลงไปในบ่อด้วยก็ได้ หรือน้ำส้มสายชูประมาณ 2-3 ถ้วย แล้วถ่ายน้ำทิ้งก็ได้เช่นกันค่ะ
- เมื่อทำตามขั้นตอนที่แนะนำเสร็จแล้ว ให้เอาดินมาใส่ลงไปในบ่อปูนให้มีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร หรือใส่ได้ตามปริมาณของบ่อ หรือสภาพพื้นที่ค่ะ
- ที่สำคัญคือ บ่อที่เตรียม ควรตั้งเอาไว้ในที่ร่มเท่านั้น เพราะเจ้าปูนาไม่ชอบอากาศที่ร้อน ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้ปูตายได้ แต่ถ้าไม่มีที่ร่ม ก็ให้ทำตาข่ายพรางแสงหรือหลังคาใส่ตรงบ่อ ก็ได้เช่นกัน
- จากนั้นให้ใส่ท่อ หรือแผ่นกระเบื้อง,อิฐบล๊อคเพื่อให้ปูจะได้มีแหล่งที่ซ่อนตัวและหลบภัย เพราะว่าปูนานั้นมีนิสัยชอบทำร้ายกันเอง
- ทำตาข่ายปิดปากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ปูปีนหนี เท่านี้ก็เรียบร้อย
เคล็ดลับการดูแลปูนา
- หากใครต้องการ ที่จะคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออก ให้นำปูนาที่ได้มาจากแหล่งแม่น้ำธรรมชาติ โดยเลือกขนาดความยาวของปูนาที่มีลำตัวประมาณ 4 เซนติเมตร คัดเอาแต่ตัวที่แข็งแรงและมีขาที่ครบสมบูรณ์มาปล่อยลงในบ่อที่เตรียมไว้ ให้ใช้ปูนาตัวผู้ 25 ตัวและปูนาตัวเมีย 25 ตัวต่อบ่อ
- ในส่วนของการให้อาหาร เราจะให้แบบมั่วซั่วตามใจตัวเองไม่ได้ ท่านควรให้อาหารสัปดาห์ละ 3 ครั้งอาหารที่ใช้เลี้ยงปูนา ได้แก่ ข้าวสุกจะเป็นข้าวสวยหรือข้าวเหนียวก็ได้ ปลาให้สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ กุ้งฝอย,ผักสดเช่นผักบุ้งหรือผักกาด
- และแต่ละครั้งที่ให้อาหาร ต้องไม่ควรให้อาหารปูมากเกินไป และต้องคอยหมั่นสังเกตดูว่าให้อาหารแค่ไหนปูถึงจะกินหมด เพราะถ้ามีอาหารเหลือก็จะทำให้อาหารเน่าเสียได้ หากอาหารเหลือ ให้เก็บออกอย่าทิ้งไว้ให้เน่าคาบ่อ เพราะจะทำให้ปูไม่แข็งแรงทำให้เป็นโรคได้
- การระบายและเปลี่ยนน้ำ ต้องทำอย่างระวัง และเปลี่ยน 2 – 3 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น
นี่คือ วิธีการเลี้ยงปูนา ตามแบบเกษตรกร หากท่านต้องการหารายได้เสริม จากงานประจำที่ทำ หรือต้องการเอาดีด้านการเกษตร ลองเลือกเลี้ยงปูนาได้เลย รับรองว่าทำเงินดีกว่าที่คิดเอาไว้แน่นอน
และขอแนะนำ อีกหนึ่งแนวทาง การสร้างรายได้ สำหรับเกษตรกร ด้วยการปลูกผัก กับ 5 ผักยอดนิยม ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรทุกเทศกาล ซึ่งเป็นผักที่ สาารถปลูกได้ในทุกฤดู และประชาชนก็บริโภคกันตลอด จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดี ในการสร้างกำไรนะคะ
สมาร์ทวอทช์ ที่เหมาะกับเรามากที่สุด บอกได้เลยว่า ประโยคนี้สำคัญมาก ๆ ค่ะ การที่เราจะเลือก สมาร์ทวอทช์ หรือนาฬิกาอัจฉริยะสักเครื่อง ที่สามารถตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกให้กับเราได้ดีนั้น คงต้องศึกษาให้ดี ดูที่ประโยชน์และการตอบโจทย์ต่อตัวเรานะคะ